แคตตาล็อกหลักสูตร
รายวิชานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ตรงในสาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ผ่านการฝึกงานภาคบังคับอย่างน้อย 200 ชั่วโมงในภาคฤดูร้อน ผู้เรียนจะได้ใช้ความรู้ทางวิชาการกับโครงการวิศวกรรมในโลกแห่งความเป็นจริง โดยได้รับทักษะการปฏิบัติและข้อมูลเชิงลึกในภาคอุตสาหกรรม การฝึกงานจะได้รับการดูแลโดยผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมและสอดคล้องกับความเชี่ยวชาญเฉพาะทางที่นักศึกษาเลือก
รายวิชานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโครงงานต่อจากพื้นฐานที่กำหนดไว้ในโครงการวิศวกรรม 1 ผู้เรียนจะดำเนินงานโครงงานที่เลือก ท าการทดลอง และพัฒนาแนวทางแก้ไขเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของโครงงาน เมื่อสิ้นสุดภาคการศึกษา ผู้เรียนจะส่งโครงงานที่ครอบคลุมประกอบด้วยบันทึกการวิจัย ระเบียบวิธี ข้อค้นพบ และข้อสรุปรูปแบบและข้อกำหนดโครงงานจะเป็นไปตามแนวปฏิบัติที่ระบุไว้ในคู่มือโครงงานวิศวกรรมศาสตร์ของคณะวิศวกรรมศาสตร์
รายวิชานี้เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ใช้ความรู้และทักษะด้านวิศวกรรมกับโครงงานที่สอดคล้องกับโลกแห่งความเป็นจริง การทำงานในกลุ่มย่อย ผู้เรียนจะเลือกหัวข้อโครงงานที่สอดคล้องกับความสนใจของตนเอง และได้รับคำแนะนำจากอาจารย์ที่ปรึกษา เพื่อดำเนินการศึกษาความเป็นไปได้ วิจัยข้อมูลพื้นฐานที่เกี่ยวข้อง พัฒนาแผนโครงงาน และกำหนดประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ ตลอดทั้งโครงงาน ผู้เรียนจะรายงานความคืบหน้าโดยใช้รูปแบบที่ระบุ เพื่อให้แน่ใจว่าโครงงานสอดคล้องกับความเชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ที่ผู้เรียนเลือก
รายวิชานี้ให้ความรู้ความเข้าใจที่ครอบคลุมเกี่ยวกับวงจรไฟฟ้าและหลักการเบื้องหลังการวัดทางไฟฟ้า หัวข้อต่างๆ ได้แก่ วงจรไฟฟ้ากระแสตรง (DC) วงจรไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) เฟสเดียวและสามเฟส องค์ประกอบพื้นฐานของวงจร (แรงดัน กระแส ความต้านทาน ก าลัง) อนุกรม วงจรขนานและวงจรรวม ตัวต้านทาน ตัวเหนี่ยวนำ ตัวเก็บประจุ และหลักการทำงานและการประยุกต์เครื่องมือวัดทางไฟฟ้าต่างๆ เช่น โวลต์มิเตอร์ แอมมิเตอร์ โอห์มมิเตอร์ มัลติมิเตอร์ วัตต์มิเตอร์ และออสซิลโลสโคป รายวิชานี้ช่วยให้ผู้เรียนมีความรู้ที่จำเป็นสำหรับการวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาวงจรไฟฟ้า
รายวิชานี้ให้ความรู้เบื้องต้นที่ครอบคลุมเกี่ยวกับหลักการพื้นฐานของฟิสิกส์และเคมีที่เป็นรากฐานของการประยุกต์ใช้งานวิศวกรรม ประกอบด้วย กลศาสตร์ อุณหพลศาสตร์ กลศาสตร์ของไหล ปริมาณสัมพันธ์ ทฤษฎีอะตอม สมบัติทางเคมี สมดุล จลนศาสตร์ โครงสร้างอิเล็กทรอนิกส์ และพันธะเคมี ผู้เรียนจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับแนวคิดทางวิทยาศาสตร์เหล่านี้ที่เกี่ยวข้องกับปัญหาทางวิศวกรรมตามความเป็นจริง เพื่อเป็นการพัฒนาพื้นฐานที่แข็งแกร่งสำหรับการศึกษาในอนาคต
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับปัญญาประดิษฐ์และวิทยาการข้อมูล การจัดการข้อมูลขนาดใหญ่ การนำข้อมูลมาช่วยในการตัดสินใจ ความสำคัญของ AI ในปัจจุบัน การจำแนกเทคโนโลยี AI ความก้าวหน้าทางด้าน AI และโมเดลธุรกิจของ AI
ศึกษาความหมาย แนวคิด ในการบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม รวมถึงนโยบาย กลยุทธ์ เครื่องมือสำหรับการสังเคราะห์และพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมในยุคปัจจุบัน
ศึกษากระบวนการพัฒนา และแนวทางการนำระบบสารสนเทศมาใช้ในธุรกิจ รวมทั้งพัฒนาทักษะและความรู้ทางด้านธุรกิจในยุคดิจิทัล เพื่อให้สามารถวิเคราะห์ ปรับปรุงระบบสารสนเทศภายในองค์กร รวมถึงแนวทางการนำเทคโนโลยีสารสนเทศไปปรับเปลี่ยนธุรกิจ เพื่อเพิ่มประสิทธิผล เพิ่มมูลค่าขององค์กร และเพิ่มศักยภาพการแข่งขันทางธุรกิจในยุคปัจจุบันได้เป็นอย่างดี
การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่องานสำนักงาน การเลือกใช้ซอฟต์แวร์ที่เหมาะสม การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดทำเอกสาร เพื่อช่วยให้งานในสำนักงานมีประสิทธิผลและสามารถนำไปใช้ได้จริง
แหล่งสารสนเทศ ลักษณะของแหล่งสารสนเทศ ทรัพยากรสารสนเทศ การเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศ ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ การเขียนเชิงอรรถและบรรณานุกรม ศึกษาวิธีการรวบรวมข้อมูล และการนำเสนอข้อมูลทางวิชาการ
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ การประยุกต์ใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ด ารงอยู่อย่างเป็นสุขและมีคุณภาพชีวิตที่ดี โดยตระหนักถึงผลกระทบของความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม
ความเป็นมาของคอมพิวเตอร์ การแบ่งประเภทของคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ต่อพ่วงกับคอมพิวเตอร์ การจัดหาและการเลือกใช้คอมพิวเตอร์ให้เหมาะสมกับงาน การบ ารุงรักษาคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันและแนวโน้มการพัฒนาในอนาคต ซอฟต์แวร์ระบบและซอฟต์แวร์ประยุกต์ อินเตอร์เน็ตและโซเชียลมีเดียรวมถึงจริยธรรมในการใช้คอมพิวเตอร์ พระราชบัญญัติและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
เพื่อให้เกิดความเข้าใจในการเสริมสร้างสุขภาพแบบบูรณาการ เพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี โดยเน้นการส่งเสริมทั้งสุขภาพและจิต องค์ประกอบของสุขภาพที่ดี ปัจจัยที่ส่งผลต่อสุขภาพ การดูแลสุขภาพตนเองแบบบูรณาการ โภชนาการ การเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน สุขอนามัย การพัฒนาสมรรถนะทางกาย การออกกำลังกายเพื่อพัฒนาบุคลิกภาพ จิตใจ และอารมณ์ การป้องกันและแก้ไขปัญหาสุขภาพจิต การฝึกสติ สมาธิ และทำความเข้าใจชีวิต
เขตทางทะเลและชายฝั่ง (Maritime Zones) ธรณีวิทยาและธรณีสัณฐานวิทยาของทะเลไทย การทับถมและตกตะกอนในทะเลและชายฝั่ง ภูมิลักษณ์ชายฝั่งทะเลไทย ทรัพยากรมีชีวิตในทะเลและชายฝั่ง ทรัพยากรไม่มีชีวิตในทะเลและชายฝั่ง การตั้งถิ่นฐานของประชาชนชายฝั่งทะเล ระบบสาธารณสุขชุมชนชายฝั่ง ความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืนและผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของทะเลไทย และการจัดการชายฝั่งทะเลไทย
ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสภาพแวดล้อม สถานภาพปัจจุบันและการใช้ประโยชน์ของทรัพยากรธรรมชาติ ระบบนิเวศขั้นพื้นฐาน สถานการณ์ปัญหาสิ่งแวดล้อมของประเทศไทยและของโลก สังคมคาร์บอนต่ำ การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
การดำเนินชีวิตอย่างเท่าทันกับการเปลี่ยนแปลงของโลก โดยใช้ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ดีและสิ่งแวดล้อมศึกษา เพื่อเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในตัวของมนุษย์ ทำให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ และรู้จักรับผิดชอบตระหนักถึงคุณค่าสิ่งแวดล้อม ตลอดจนใช้องค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม ที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตสู่ความยั่งยืน
กระบวนการสร้าง จัดการ และประยุกต์ใช้นวัตกรรม การประเมินความเสี่ยงและการสร้างโอกาสใหม่ การคิดและการวางแผนเชิงธุรกิจสำหรับผู้ประกอบการ
แนวคิดจิตวิทยาเชิงบวก การศึกษาพฤติกรรมด้านบวกของมนุษย์ สุขภาวะโดยรวมและความพึงพอใจ การคิดแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ การปรับทัศนคติ ปรับสภาวะทางจิตใจ โดยเน้นการพัฒนาตนเองให้มองโลกในแง่ดี ผ่านกระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลาย ตลอดจนการปรับตัวเพื่อมีความสุขในชีวิต
วิวัฒนาการของสังคมและเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ภาวะเศรษฐกิจโลกและปัญหาเศรษฐกิจในภูมิภาคและประเทศไทย ปรัชญา แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงและวิธีการนำไปประยุกต์ใช้กับเศรษฐกิจและสังคมไทยเพื่อนำไปสู่การพัฒนาและแก้ไขปัญหาที่ยั่งยืน การวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์กรณีศึกษาต่าง ๆ ที่มีการนำแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง และทฤษฎีใหม่ไปใช้กับเหตุการณ์จริง
การพัฒนาตนเองด้านบุคลิกภาพ ทักษะการเข้าสังคม การรู้จักตนเอง การท างานเป็นทีม ภาวะผู้นำ การคิดสร้างสรรค์ และมารยาททางสังคม
แนวคิดพื้นฐานทางจิตวิทยาเพื่อการดำเนินชีวิต ความแตกต่างระหว่างบุคคล พัฒนาการของมนุษย์ การรับรู้ การเรียนรู้ การเข้าใจและควบคุมอารมณ์ การจัดการความขัดแย้ง การพัฒนาตนเอง การเสริมสร้างการเห็นคุณค่าในตนเอง สุขภาพจิตและการปรับตัวเพื่อความสุขในชีวิต
ความหมายและความสำคัญของพลศึกษาและนันทนาการ เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจทั้งทฤษฎีและทักษะพื้นฐานของการออกก าลังกาย หลักการป้องกันการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา โภชนาการ วิทยาศาสตร์การกีฬาและฝึกทักษะกีฬาสากล กิจกรรมนันทนาการ ซึ่งเป็นที่นิยมโดยทั่วไปตามความสนใจหนึ่งชนิดกีฬาหรือหนึ่งกิจกรรมนันทนาการ
รูปแบบและหลักการการลีลาศ ฝึกปฏิบัติโดยเน้นเรื่องความสวยงาม การแสดงอารมณ์มารยาทสังคม การสร้างมนุษยสัมพันธ์ การฝึกเป็นรายบุคคลและกลุ่ม
รูปแบบหลักการที่เป็นแบบแผนนาฏศิลป์ไทยและฝึกปฏิบัติโดยเน้นเรื่องความสวยงามตามแบบแผน การแสดงอารมณ์ของตัวละคร การกล้าแสดงออก ฝึกตรงต่อเวลา ความอดทน การฝึกปฏิบัติเป็นทีม และสร้างความมั่นใจของผู้เรียนให้มีภาวะเป็นผู้นำ
รูปแบบ หลักการเต้นสมัยใหม่และฝึกปฏิบัติโดยเน้นเรื่องความสวยงาม การแสดงอารมณ์ มารยาท สังคม การสร้างมนุษย์สัมพันธ์ การฝึกเป็นรายบุคคลและกลุ่ม
หลักและวิธีการเล่นเกมไทยและสากลประเภทต่างๆ เทคนิคการเป็นผู้นำการฝึกกิจกรรมในการเล่น เกมเบ็ดเตล็ด ตลอดจนฝึกประดิษฐ์และใช้เครื่องมือประกอบการเล่น
พลเมืองคุณภาพระดับอุดมศึกษา หมายถึง ผู้ที่เรียนรู้อย่างลึกซื้ง (Profound Learning) รู้จักคิดวิเคราะห์ และกลั่นกรองข้อมูลข่าวสารอย่างมีวิจารณญาณ มีส่วนร่วมทางการเมืองอย่างสร้างสรรค์ ตามวิถีประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เคารพสิทธิซึ่งกันและกัน รับฟังความคิดเห็นที่แตกต่างรับผิดชอบการกระทำที่มีผลต่อสังคมร่วมกัน เห็นประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตัว และแสดงความรับผิดชอบต่อผลที่เกิดขึ้น
ความำสำคัญและคุณลักษณะของพลเมืองในยุคดิจิทัล ในเรื่องการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างรู้เท่าทัน ปลอดภัย ปราศจากความขัดแย้ง และเกิดประโยชน์ในการเรียนรู้ การทำงาน และการพัฒนาตนเองตลอดชีวิตโดยคำนึงถึงคุณธรรม จริยธรรม มนุษยธรรม รวมถึงสิทธิ เสรีภาพ และความรับผิดชอบบนสังคมออนไลน์ ที่เป็นไปตามครรลองของกฎหมาย ตระหนักถึงผลกระทบที่เกิดจากการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ โอกาสและความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น และเป็นพลเมืองที่สามารถปรับตัวได้อย่างมีประสิทธิภาพภายใต้บริบทสังคมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและตลอดเวลา
ทฤษฎีการเปลี่ยนแปลงทางสังคม แบบและลักษณะการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนทางสังคมกับวัฒนธรรม เศรษฐกิจและการเมือง พัฒนาการของสังคมไทย ปัญหาและแนวทางแก้ปัญหาทางสังคมในยุคปัจจุบัน
ปลูกฝังจิตสำนึกสาธารณะ บทบาทและหน้าที่ ความรับผิดชอบของการเป็นพลเมืองที่ดีของสังคม เน้นการส่งเสริมด้านคุณธรรม จริยธรรมต่อตนเอง ต่อผู้อื่นและสภาพแวดล้อม ผ่านกระบวนการหลากหลายวิธี การทำกิจกรรมจิตอาสา เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทัศนคติ การใช้เหตุผลและพฤติกรรมที่ดี
ความงาม เพื่อการวิเคราะห์ อภิปรายคุณค่าสุนทรียภาพในศาสตร์ ดนตรี ศิลปะ วรรณกรรม เพื่อให้เกิดจิตใจที่ดีงาม การรับรู้ศาสตร์แต่ละด้านด้วยความชื่นชมคุณค่าแห่งสุนทรียภาพ
องค์ประกอบของดนตรี ความสัมพันธ์ของดนตรีที่มีต่อมนุษย์ คุณค่า การสร้างจินตนาการและเจตคติที่ดีต่อดนตรี ทักษะมารยาทในการฟังดนตรี ชีวิตและผลงานของคีตกวีที่คัดสรร
การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการจัดการและการตัดสินใจ โดยใช้ทฤษฎีทางสถิติเชิงแสดงลักษณะและการอนุมานทางสถิติ เช่น การแจกแจงความถี่ การวัดแนวโน้มสู่ส่วนกลาง การวัดการกระจาย การประมาณค่าพารามิเตอร์ การทดสอบสมมติฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวน การวิเคราะห์การถดถอย และสหสัมพันธ์
ระบบจำนวนจริง คุณสมบัติและการด าเนินการของจ านวนจริง เลขยกก าลังและรากการดำเนินการเกี่ยวกับนิพจน์พีชคณิต การแยกตัวประกอบ ฟังก์ชันและการเขียนกราฟเมตริกซ์การแก้ระบบสมการเชิงเส้นโดยใช้เมตริกซ์
การประยุกต์ใช้หลักทางคณิตศาสตร์และสถิติเพื่อการจัดการข้อมูลต่างๆ เช่น ระบบจำนวนจริง ความสัมพันธ์ ฟังก์ชัน กราฟ เมตริกซ์ ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสถิติเชิงแสดงลักษณะและสถิติเชิงสรุปผล
ศึกษาศิลปะการใช้คำวลี โวหาร และรูปแบบงานประพันธ์เพื่อผลิตเนื้อหาผ่านสื่อและเทคโนโลยีอย่างสร้างสรรค์ เช่น การโฆษณา ประชาสัมพันธ์ สินค้าบริการ ผ่านสื่อต่าง ๆ เพื่อเป็นการพัฒนาและสร้างสรรค์ผลงานในยุคปัจจุบัน
คุณค่าศิลปะการประพันธ์ ด้านเนื้อหา ภาษา และกลวิธีการประพันธ์ จากการเรียนรู้รูปแบบงานประพันธ์ ทั้งสารคดีและบันเทิงคดี เพื่อฝึกทักษะการอ่าน การวิจารณ์ประเมินค่าวรรณกรรม และนำผลการเรียนรู้มาพัฒนาทักษะการเขียน ด้วยการสร้างสรรค์ศิลปะการประพันธ์ให้มีคุณค่าและเป็นประโยชน์ต่อมนุษย์ สังคม ธรรมชาติ
พัฒนาทักษะการรับสารและการส่งสารโดยการฝึกจับใจความสำคัญ สรุปความ วิเคราะห์ และประเมินค่า นำเสนอสารด้วยการพูดและการเขียนอย่างมีวิจารณญาณและสร้างสรรค์ รวมทั้งสร้างงานเขียนในเชิงวิชาการ
ศึกษาภาษาไทย ด้วยการฝึกทักษะการพูด การฟัง การอ่าน และการเขียน เพื่อพัฒนาวิจารณญาณการรับสาร และนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อชีวิตและสังคม พร้อมกับพัฒนาทักษะภาษาให้สื่อสารอย่างมีระบบ ตรงจุดประสงค์ของผู้สื่อสาร ด้วยภาษาที่สละสลวย ถูกต้องตามรูปแบบงานประพันธ์
ภาษาฝรั่งเศสสำหรับผู้ที่ไม่มีพื้นความรู้ภาษาฝรั่งเศสมาก่อน ใช้รูปประโยคและไวยากรณ์ขั้นพื้นฐาน จากทักษะด้าน การฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน โดยเน้นทักษะการฟัง และการพูด การสนทนาที่ใช้ในชีวิตประจำวัน อ่านภาษาฝรั่งเศสสั้นๆ สามารถตอบคำถาม และเขียนประโยคเพื่อการสื่อสารในชีวิตประจำวันได้
ภาษาจีนสำหรับผู้ที่ไม่มีพื้นความรู้ภาษาจีนมาก่อน ฝึกการฟัง การพูด การอ่าน การเขียนภาษาจีน เรียนคำศัพท์ทั่วไปที่ใช้ในชีวิตประจำวัน และระบบไวยากรณ์พื้นฐานอย่างง่าย ฝึกออกเสียงและฝึกบทสนทนา ภาษาจีนที่มีคำศัพท์และรูปประโยคไม่ซับซ้อน ฝึกการอ่านและการเขียนประโยคง่ายๆเพื่อการสื่อสารในชีวิตประจำวัน
ภาษาญี่ปุ่นสำหรับผู้ที่ไม่มีพื้นฐานความรู้ภาษาญี่ปุ่นมาก่อน สร้างทักษะการฟัง การพูด การอ่าน การเขียนในลักษณะรูปประโยคพื้นฐานที่ใช้ไวยากรณ์เบื้องต้นไม่ซับซ้อน โดยใช้ตัวอักษรภาษาญี่ปุ่นพื้นฐาน การออกเสียงคำภาษาญี่ปุ่นให้ถูกต้อง การสนทนาภาษาญี่ปุ่นและการอ่านให้ความเข้าใจภาษาญี่ปุ่นสั้นๆได้
พัฒนาทักษะภาษาอังกฤษทั้ง 4 ทักษะเพื่อสร้างความมั่นใจของผู้เรียนในการสื่อสารอย่างมีประสิทธิผล โดยเน้นการเสริมสร้างความคล่องแคล่วในการใช้ภาษาเพื่อแลกเปลี่ยนข่าวสารสาระ แนวคิดและความเห็นในสถานการณ์ที่หลากหลายโดยเฉพาะในบริบทของการทำงานและการใช้ภาษาอังกฤษในสถานการณ์ของโลกปัจจุบัน
หลักการใช้ภาษาอังกฤษและคำศัพท์ สำหรับทักษะการฟัง การพูดของสำเนียงภาษาอังกฤษที่หลากหลาย ในสถานการณ์ต่างๆเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
การใช้ภาษาอังกฤษสำหรับการสื่อสารในสถานการณ์ต่างๆ ในชีวิตประจำวัน และการทำงาน โดยเน้นทักษะการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
ฟัง พูด อ่าน และเขียนภาษาอังกฤษเพื่อใช้ในการสื่อสารเชิงบูรณาการในสถานการณ์ต่างๆ จนสามารถปรับใช้กับสถานการณ์เฉพาะโดยเริ่มจากการสื่อสารในชีวิตประจำวันไปจนถึงการติดต่อ สื่อสารในการทำงานทั่วไป
การใช้ทักษะภาษาอังกฤษเพื่อสื่อความหมายในบริบทต่างๆทั้งที่เป็นภาษาที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการโดยบูรณาการทักษะหลักทางภาษาทั้งสี่ทักษะได้แก่ การฟัง การพูด การอ่าน และการเขียนเข้าด้วยกัน การใช้โครงสร้างประโยคภาษาอังกฤษและคำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาหลักของบทเรียนตามหัวข้อในชีวิตประจำวันเพื่อให้สามารถใช้ภาษาอังกฤษตามทักษะที่ต้องการสื่อความหมายได้ถูกต้องและชัดเจน
ศึกษากระบวนการจัดการทรัพยากรทางการเงินของตนเองทั้งหมดได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีข้อมูล ครบถ้วนทั้ง 5 ด้าน ได้แก่ ด้านการสร้างรายได้ ด้านการเก็บออม ด้านการจัดท างบประมาณรายรับรายจ่าย ด้านการลงทุน และด้านการจัดการหนี้ เพื่อให้มีทักษะสร้างความสมดุลทางการเงินให้กับชีวิตได้ในทุกช่วงวัย
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายทั่วไป สิทธิเสรีภาพและหน้าที่ของประชาชนตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย กฎหมายลักษณะบุคคลและครอบครัว กฎหมายลักษณะทรัพย์สินและมรดก กฎหมายนิติกรรมและสัญญา กฎหมายลักษณะละเมิด กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา กฎหมายอาญาทั่วไป กฎหมายอิเล็กทรอนิกส์
การใช้ศาสตร์และศิลป์ในการดำเนินชีวิตและการทำงาน บุคลิกภาพและการแสดงออกทางสังคม ความฉลาดทางอารมณ์ การคิดวิเคราะห์ด้วยเหตุผล การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ คุณค่าชีวิต การพัฒนาตนเอง ความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม การสร้างสุขภาวะให้กับชีวิตและการทำงาน การเจริญสติและนั่งสมาธิเบื้องต้น ศิลปะในการทำงานอย่างมีความสุขและศิลปะในการอยู่ร่วมกับผู้อื่น
ความหมาย คุณค่า แนวคิด การพัฒนาการคิดแบบเป็นระบบ การคิดเชิงวิเคราะห์และความคิดสร้างสรรค์ การอธิบายทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการคิด การเชื่อมโยงความคิด การผูกเรื่อง การเขียน กรณีเพื่อศึกษาการแก้ปัญหาโดยวิธีการคิดเชิงระบบ ด้านการดำเนินชีวิต ด้านสังคมและอื่น ๆ
ความหมาย ขอบเขตและลักษณะปรัชญาและศาสนา ความคิดของปรัชญาและศาสนาที่สำคัญ การประยุกต์ใช้ปรัชญาและศาสนากับชีวิตและสังคม
วิวัฒนาการและลักษณะของอารยธรรมตะวันออกและตะวันตกที่สำคัญตั้งแต่ยุคโบราณถึงยุคปัจจุบัน การแผ่ขยายและถ่ายทอด การแลกเปลี่ยนอารยธรรมในดินแดนต่างๆ อันมีผลต่อสภาพบ้านเมือง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมของโลกปัจจุบัน
รายวิชานี้เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้สัมผัสประสบการณ์ทำงานจริงในอุตสาหกรรม IT เชื่อมต่อความรู้ทางทฤษฎีกับการปฏิบัติในสถานการณ์จริง นักศึกษาจะได้ทำงานในสภาพแวดล้อมที่แท้จริงและนำทักษะที่เรียนรู้ในชั้นเรียนมาใช้ในการแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการทำงาน ผ่านการฝึกงานนี้นักศึกษาจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับจริยธรรมในการทำงาน ทักษะการบริหารเวลา และการแก้ปัญหาจริง อีกทั้งยังได้สร้างเครือข่ายกับผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรม รายวิชานี้เหมาะสำหรับนักศึกษาที่ต้องการพัฒนาทักษะและเพิ่มโอกาสในสายอาชีพก่อนจบการศึกษา
รายวิชานี้เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้สัมผัสประสบการณ์ทำงานจริงในอุตสาหกรรม IT เชื่อมต่อความรู้ทางทฤษฎีกับการปฏิบัติในสถานการณ์จริง นักศึกษาจะได้ทำงานในสภาพแวดล้อมที่แท้จริงและนำทักษะที่เรียนรู้ในชั้นเรียนมาใช้ในการแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการทำงาน ผ่านการฝึกงานนี้นักศึกษาจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับจริยธรรมในการทำงาน ทักษะการบริหารเวลา และการแก้ปัญหาจริง อีกทั้งยังได้สร้างเครือข่ายกับผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรม รายวิชานี้เหมาะสำหรับนักศึกษาที่ต้องการพัฒนาทักษะและเพิ่มโอกาสในสายอาชีพก่อนจบการศึกษา
รายวิชานี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้เรียนพัฒนาทักษะและความรู้ในด้านการออกแบบส่วนติดต่อผู้ใช้ (User Interface Design) ในระดับที่สูงขึ้น ผู้เรียนจะได้ศึกษาเทคนิคการออกแบบขั้นสูง เช่น การสร้างโปรโตไทป์ (Prototyping) การทดสอบการใช้งาน (Usability Testing) การปรับปรุงประสบการณ์ผู้ใช้ (UX) และการใช้เครื่องมือและเทคโนโลยีใหม่ ๆ ในการออกแบบ ผู้เรียนจะได้ฝึกปฏิบัติผ่านโปรเจ็กต์ที่ซับซ้อนมากขึ้นเพื่อเตรียมความพร้อมในการออกแบบส่วนติดต่อผู้ใช้ที่มีความซับซ้อนและมีประสิทธิภาพสูง
รายวิชานี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้เรียนมีความเข้าใจพื้นฐานและทักษะในการออกแบบส่วนติดต่อผู้ใช้ (User Interface Design) ผู้เรียนจะได้ศึกษาแนวคิดหลักการและเทคนิคการออกแบบที่เน้นผู้ใช้เป็นศูนย์กลาง รวมถึงการใช้งานเครื่องมือต่างๆ ในการออกแบบส่วนติดต่อผู้ใช้ เช่น Sketch, Adobe XD หรือ Figma ผู้เรียนจะได้ฝึกปฏิบัติผ่านโปรเจ็กต์ที่เกี่ยวข้องเพื่อพัฒนาทักษะในการสร้างส่วนติดต่อผู้ใช้ที่มีประสิทธิภาพและสวยงาม
รายวิชานี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้เรียนมีความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับระบบปฏิบัติการ (Operating Systems) ผู้เรียนจะได้ศึกษาแนวคิดและโครงสร้างพื้นฐานของระบบปฏิบัติการ เช่น การจัดการกระบวนการ การจัดการหน่วยความจำ การจัดการไฟล์ และการจัดการอุปกรณ์ รวมถึงการทำงานของเคอร์เนล (Kernel) ผู้เรียนจะได้เรียนรู้ผ่านการทดลองและการปฏิบัติจริงเพื่อพัฒนาทักษะในการออกแบบและพัฒนาระบบปฏิบัติการ
รายวิชานี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้เรียนมีความเข้าใจพื้นฐานและทักษะในการวิศวกรรมข้อมูล (Data Engineering) ผู้เรียนจะได้ศึกษาแนวคิดและเทคนิคพื้นฐาน เช่น การออกแบบและสร้างคลังข้อมูล (Data Warehouse) การจัดการและประมวลผลข้อมูลขนาดใหญ่ การใช้เครื่องมือ ETL (Extract, Transform, Load) และการใช้ฐานข้อมูลแบบต่างๆ ผู้เรียนจะได้ฝึกปฏิบัติผ่านโปรเจ็กต์ที่เกี่ยวข้องเพื่อพัฒนาทักษะในการสร้างและจัดการโครงสร้างพื้นฐานข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ
รายวิชานี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้เรียนมีความเข้าใจพื้นฐานในวิชาวิยุตคณิต ซึ่งเป็นคณิตศาสตร์ที่ใช้ในการวิเคราะห์โครงสร้างที่ไม่ต่อเนื่อง ผู้เรียนจะได้ศึกษาแนวคิดและเทคนิคที่สำคัญ เช่น ลอจิก การพิสูจน์เชิงคณิตศาสตร์ ทฤษฎีเซต ความสัมพันธ์ ฟังก์ชัน ทฤษฎีกราฟ และการวิเคราะห์อัลกอริทึม ผู้เรียนจะได้พัฒนาทักษะในการแก้ปัญหาและการคิดเชิงตรรกะ ซึ่งมีความสำคัญในการศึกษาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และสาขาที่เกี่ยวข้อง
รายวิชานี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้เรียนได้ประยุกต์ใช้ความรู้และทักษะที่ได้เรียนมาในระหว่างการศึกษาในการทำโครงงานปริญญานิพนธ์ ผู้เรียนจะได้ทำงานในโครงงานที่ท้าทายซึ่งครอบคลุมการวิเคราะห์ปัญหา การออกแบบและพัฒนาโซลูชัน การทดสอบ และการนำเสนอผลลัพธ์ของโครงงานอย่างเป็นระบบ ผู้เรียนจะได้รับคำแนะนำจากอาจารย์ที่ปรึกษาและทำงานทั้งแบบเดี่ยวและแบบกลุ่ม เพื่อพัฒนาทักษะการแก้ปัญหา การคิดเชิงวิเคราะห์ และการจัดการโครงการ
รายวิชานี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้เรียนมีความเข้าใจและทักษะในการออกแบบและพัฒนาระบบสมองกลฝังตัว (Embedded Systems) ผู้เรียนจะได้ศึกษาแนวคิดพื้นฐานของระบบสมองกลฝังตัว การเขียนโปรแกรมไมโครคอนโทรลเลอร์ การใช้งานเซ็นเซอร์และตัวกระตุ้น การเชื่อมต่อแบบไร้สาย และการจัดการพลังงาน ผู้เรียนจะได้ลงมือปฏิบัติผ่านโปรเจ็กต์ที่เกี่ยวข้องเพื่อพัฒนาทักษะในการสร้างระบบสมองกลฝังตัวที่มีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับการใช้งานจริง
รายวิชานี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้เรียนมีความพร้อมสำหรับการสัมภาษณ์งานในอุตสาหกรรมข้อมูล ผู้เรียนจะได้ศึกษาแนวทางและเทคนิคในการเตรียมตัวสำหรับการสัมภาษณ์ เช่น การวิเคราะห์ข้อมูล การเขียนโค้ด การแก้ปัญหาทางเทคนิค การตอบคำถามเชิงพฤติกรรม และการนำเสนอตนเอง ผู้เรียนจะได้ฝึกฝนผ่านการสัมภาษณ์จำลองและการทำแบบฝึกหัดที่เกี่ยวข้อง เพื่อเพิ่มความมั่นใจและความสามารถในการสัมภาษณ์ในสายงานข้อมูล
รายวิชานี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้เรียนมีความเข้าใจและทักษะในการประมวลผลภาษาธรรมชาติ (Natural Language Processing: NLP) ผู้เรียนจะได้ศึกษาแนวคิดและเทคนิคพื้นฐานของ NLP เช่น การทำความเข้าใจข้อความ การสร้างแบบจำลองภาษา การวิเคราะห์ความรู้สึก การแยกแยะคำพูดและการตอบสนอง รวมถึงการใช้เครื่องมือและไลบรารีต่างๆ เช่น NLTK, spaCy และ Transformer Models (เช่น BERT และ GPT) ผู้เรียนจะได้ฝึกปฏิบัติผ่านโปรเจ็กต์ที่เกี่ยวข้องเพื่อพัฒนาทักษะในการพัฒนาและประยุกต์ใช้เทคนิค NLP
รายวิชานี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้เรียนมีความเข้าใจและทักษะในการเรียนรู้เชิงลึก (Deep Learning) ผู้เรียนจะได้ศึกษาแนวคิดหลักและเทคนิคพื้นฐานของการเรียนรู้เชิงลึก เช่น โครงข่ายประสาทเทียม (Neural Networks) โครงข่ายประสาทเชิงลึก (Deep Neural Networks) การเรียนรู้แบบมีผู้สอนและไม่มีผู้สอน รวมถึงการใช้เครื่องมือและไลบรารีต่างๆ เช่น TensorFlow และ Keras ผู้เรียนจะได้ฝึกปฏิบัติผ่านโปรเจ็กต์ที่เกี่ยวข้องเพื่อพัฒนาทักษะในการพัฒนาและประยุกต์ใช้โมเดลการเรียนรู้เชิงลึก
รายวิชานี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้เรียนมีความเข้าใจและทักษะในการประมวลผลภาพด้วยคอมพิวเตอร์ (Computer Vision) ผู้เรียนจะได้ศึกษาแนวคิดหลักและเทคนิคพื้นฐานของการประมวลผลภาพ เช่น การรู้จำภาพ การตรวจจับวัตถุ การแบ่งส่วนภาพ และการติดตามวัตถุ รวมถึงการใช้เครื่องมือและไลบรารีต่างๆ เช่น OpenCV และ TensorFlow ผู้เรียนจะได้ฝึกปฏิบัติผ่านโปรเจ็กต์ที่เกี่ยวข้องเพื่อพัฒนาทักษะในการพัฒนาและประยุกต์ใช้เทคนิคการประมวลผลภาพด้วยคอมพิวเตอร์
รายวิชานี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้เรียนมีความเข้าใจและทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่และการประมวลผลแบบคลาวด์ ผู้เรียนจะได้ศึกษาแนวคิดหลักและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง เช่น Hadoop, Spark และแพลตฟอร์มคลาวด์ต่างๆ เช่น AWS, Google Cloud และ Microsoft Azure ผู้เรียนจะได้เรียนรู้วิธีการจัดเก็บ ประมวลผล และวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ในสภาพแวดล้อมคลาวด์ รวมถึงการออกแบบและพัฒนาโซลูชันที่มีประสิทธิภาพ ผู้เรียนจะได้ฝึกปฏิบัติผ่านโปรเจ็กต์ที่เกี่ยวข้องเพื่อพัฒนาทักษะในการใช้งานเครื่องมือและเทคโนโลยีเหล่านี้
รายวิชานี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้เรียนมีความเข้าใจและทักษะในการใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI) ในบริบทของอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น การดูแลสุขภาพ การเงิน การผลิต และอื่นๆ ผู้เรียนจะได้ศึกษาแนวคิดและเทคนิคการใช้ AI ในการแก้ปัญหาเฉพาะด้านของแต่ละอุตสาหกรรม รวมถึงการเรียนรู้การพัฒนาและประยุกต์ใช้โมเดล AI ในสภาพแวดล้อมจริง ผู้เรียนจะได้ฝึกปฏิบัติผ่านโปรเจ็กต์ที่เกี่ยวข้องเพื่อเพิ่มพูนความรู้และทักษะในการใช้ AI อย่างมีประสิทธิภาพ
รายวิชานี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้เรียนมีความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการเรียนรู้ของเครื่อง (Machine Learning) ผู้เรียนจะได้ศึกษาแนวคิดหลักและเทคนิคพื้นฐานของการเรียนรู้ของเครื่อง เช่น การเรียนรู้แบบมีผู้สอน (supervised learning) การเรียนรู้แบบไม่มีผู้สอน (unsupervised learning) การประมวลผลลักษณะสำคัญ การประเมินโมเดล และการใช้เครื่องมือและไลบรารีต่างๆ เช่น Scikit-learn และ TensorFlow เพื่อพัฒนาโมเดลการเรียนรู้ของเครื่อง ผู้เรียนจะได้ฝึกปฏิบัติผ่านโปรเจ็กต์ที่เกี่ยวข้องเพื่อพัฒนาทักษะในการสร้างและปรับปรุงโมเดลการเรียนรู้ของเครื่อง
รายวิชานี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้เรียนมีความเข้าใจและทักษะในการนำเสนอข้อมูลด้วยภาพ ผู้เรียนจะได้ศึกษาแนวคิดและเทคนิคในการสร้างภาพข้อมูลที่ชัดเจนและมีประสิทธิภาพ โดยใช้เครื่องมือและซอฟต์แวร์ต่างๆ เช่น Tableau, Power BI หรือ D3.js ผู้เรียนจะได้เรียนรู้การเลือกใช้รูปแบบการนำเสนอที่เหมาะสมกับข้อมูล และการสร้างเรื่องราวผ่านภาพข้อมูล เพื่อสื่อสารข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพและน่าสนใจ
รายวิชานี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้เรียนมีความเข้าใจและทักษะในการนำการประยุกต์ใช้เกม (Gamification) ไปใช้ในบริบทต่างๆ เช่น การศึกษา ธุรกิจ และการตลาด ผู้เรียนจะได้ศึกษาแนวคิดและเทคนิคการสร้างแรงจูงใจผ่านเกม การออกแบบเกมที่เน้นผู้ใช้เป็นศูนย์กลาง และการวัดผลการประยุกต์ใช้เกม ผู้เรียนจะได้ลงมือปฏิบัติผ่านโปรเจ็กต์ที่เกี่ยวข้องเพื่อพัฒนาความสามารถในการออกแบบและนำการประยุกต์ใช้เกมไปใช้ในสถานการณ์จริง
รายวิชานี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้เรียนมีความพร้อมสำหรับการสัมภาษณ์งานในสาขาการออกแบบปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้ (Human-Interaction Design) ผู้เรียนจะได้ศึกษาแนวทางและเทคนิคในการเตรียมตัวสำหรับการสัมภาษณ์ เช่น การแก้ไขปัญหาการออกแบบ การนำเสนอผลงาน การตอบคำถามเชิงพฤติกรรม และการนำเสนอตนเอง ผู้เรียนจะได้ฝึกฝนผ่านการสัมภาษณ์จำลองและการทำแบบฝึกหัดที่เกี่ยวข้อง เพื่อเพิ่มความมั่นใจและความสามารถในการสัมภาษณ์
รายวิชานี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้และทักษะในการทดสอบซอฟต์แวร์ทั้งด้วยตนเองและแบบอัตโนมัติ ผู้เรียนจะได้ศึกษาแนวคิดและเทคนิคการทดสอบซอฟต์แวร์ การเขียนแผนการทดสอบ การออกแบบกรณีทดสอบ และการใช้เครื่องมือในการทดสอบอัตโนมัติ เช่น Selenium, JUnit หรือ TestNG ผู้เรียนจะได้ฝึกปฏิบัติผ่านการทำโปรเจ็กต์ที่เกี่ยวข้องเพื่อพัฒนาความสามารถในการทดสอบซอฟต์แวร์อย่างมีประสิทธิภาพ
รายวิชานี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้เรียนมีความพร้อมสำหรับการสัมภาษณ์งานในสาขาวิศวกรรมซอฟต์แวร์ ผู้เรียนจะได้ศึกษาแนวทางและเทคนิคในการเตรียมตัวสำหรับการสัมภาษณ์ เช่น การแก้ไขปัญหาทางเทคนิค การออกแบบระบบ การตอบคำถามเชิงพฤติกรรม และการนำเสนอตนเอง ผู้เรียนจะได้ฝึกฝนผ่านการสัมภาษณ์จำลองและการทำแบบฝึกหัดที่เกี่ยวข้อง เพื่อเพิ่มความมั่นใจและความสามารถในการสัมภาษณ์
รายวิชานี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้เรียนมีความเข้าใจและทักษะในการใช้แบบแผนการออกแบบซอฟท์แวร์ในบริบทของวิศวกรรมซอฟท์แวร์ ผู้เรียนจะได้ศึกษาแบบแผนการออกแบบที่สำคัญ เช่น Singleton, Factory, Observer และ Strategy รวมถึงการใช้แบบแผนเหล่านี้ในการแก้ปัญหาการออกแบบที่พบบ่อยในกระบวนการพัฒนาซอฟท์แวร์ ผู้เรียนจะได้ฝึกปฏิบัติผ่านโปรเจ็กต์และตัวอย่างจริงเพื่อพัฒนาความสามารถในการประยุกต์ใช้แบบแผนการออกแบบในงานของตน
รายวิชานี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้เรียนมีความเข้าใจและทักษะในการออกแบบสถาปัตยกรรมซอฟต์แวร์ที่มีประสิทธิภาพ ผู้เรียนจะได้ศึกษาแนวคิดหลักการและรูปแบบสถาปัตยกรรมซอฟต์แวร์ เช่น สถาปัตยกรรมแบบเลเยอร์ (layered architecture) ไมโครเซอร์วิส (microservices) และสถาปัตยกรรมที่ขับเคลื่อนด้วยเหตุการณ์ (event-driven architecture) รวมถึงการออกแบบเพื่อความสามารถในการปรับขยาย (scalability) ความทนทาน (resilience) และความยืดหยุ่น (flexibility) ผู้เรียนจะได้ลงมือปฏิบัติผ่านการออกแบบและวิเคราะห์สถาปัตยกรรมซอฟต์แวร์ในโปรเจ็กต์ต่างๆ
รายวิชานี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้เรียนมีความเข้าใจและทักษะในการใช้นามธรรมในการเขียนโปรแกรม ผู้เรียนจะได้ศึกษาแนวคิดและเทคนิคในการสร้างและใช้นามธรรม เช่น การใช้ฟังก์ชัน การสร้างคลาสและวัตถุ การใช้โครงสร้างข้อมูลนามธรรม (ADT) รวมถึงการจัดการกับข้อผิดพลาดและการทดสอบโปรแกรม ผู้เรียนจะได้ฝึกปฏิบัติผ่านโปรเจ็กต์ที่เน้นการใช้และสร้างนามธรรมเพื่อแก้ปัญหาที่ซับซ้อน
รายวิชานี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้เรียนมีความเข้าใจและทักษะในการพัฒนาโปรแกรมประยุกต์สำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ ผู้เรียนจะได้ศึกษาแนวคิดและเทคโนโลยีพื้นฐานในการพัฒนาแอปพลิเคชันบนแพลตฟอร์มต่างๆ เช่น Android และ iOS รวมถึงการออกแบบส่วนต่อประสานผู้ใช้ (UI) การจัดการข้อมูล การใช้ API และการทดสอบแอปพลิเคชัน ผู้เรียนจะได้ลงมือปฏิบัติผ่านโปรเจ็กต์ที่เกี่ยวข้องเพื่อพัฒนาแอปพลิเคชันที่ใช้งานได้จริง
รายวิชานี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้เรียนพัฒนาความเข้าใจและทักษะในด้านโครงสร้างข้อมูลและอัลกอริทึมในระดับที่สูงขึ้น ผู้เรียนจะได้ศึกษาโครงสร้างข้อมูลที่ซับซ้อน เช่น กราฟ ต้นไม้แดง-ดำ ต้นไม้บี (B-trees) และฮีป (heaps) รวมถึงการออกแบบและวิเคราะห์อัลกอริทึมขั้นสูง เช่น อัลกอริทึมการค้นหาเส้นทาง การจัดเรียงแบบขั้นสูง และการจัดการข้อมูลขนาดใหญ่ ผู้เรียนจะได้ฝึกปฏิบัติผ่านการแก้ปัญหาและโปรเจ็กต์ที่ท้าทายมากขึ้น
รายวิชานี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้เรียนพัฒนาทักษะและความรู้ในด้านการพัฒนาเว็บส่วนหลังในระดับที่สูงขึ้น ผู้เรียนจะได้ศึกษาเทคนิคและเครื่องมือขั้นสูง เช่น การปรับปรุงประสิทธิภาพเซิร์ฟเวอร์ การจัดการความปลอดภัย การใช้เฟรมเวิร์กขั้นสูงอย่าง Django หรือ Express และการทำงานกับฐานข้อมูลขั้นสูง ผู้เรียนจะได้ฝึกปฏิบัติผ่านโปรเจ็กต์ที่ซับซ้อนมากขึ้นเพื่อเตรียมความพร้อมในการพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันที่มีความซับซ้อนและมีประสิทธิภาพสูง
รายวิชานี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้เรียนพัฒนาทักษะและความรู้ในด้านการพัฒนาเว็บส่วนหน้าในระดับที่สูงขึ้น ผู้เรียนจะได้ศึกษาเทคนิคและเครื่องมือขั้นสูง เช่น การใช้เฟรมเวิร์ก JavaScript อย่าง React หรือ Vue การจัดการสถานะ (state management) และการทำงานกับ API ผู้เรียนจะได้ฝึกปฏิบัติผ่านโปรเจ็กต์ที่ซับซ้อนมากขึ้นเพื่อเตรียมความพร้อมในการพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันที่มีความซับซ้อนและประสิทธิภาพสูง
รายวิชานี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้และทักษะพื้นฐานในการพัฒนาเว็บส่วนหลัง ผู้เรียนจะได้ศึกษาแนวคิดและเทคโนโลยีหลักในการพัฒนาเว็บส่วนหลัง เช่น การตั้งค่าเซิร์ฟเวอร์ การใช้ฐานข้อมูล และการเขียนโปรแกรมเซิร์ฟเวอร์ด้วยภาษาเช่น Node.js หรือ Python รวมถึงการสร้างและจัดการ API ผู้เรียนจะได้ลงมือปฏิบัติผ่านโปรเจ็กต์เพื่อสร้างแอปพลิเคชันเว็บที่ทำงานได้จริง
รายวิชานี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้และทักษะพื้นฐานในการพัฒนาเว็บส่วนหน้า ผู้เรียนจะได้ศึกษาเทคโนโลยีหลักที่ใช้ในการพัฒนาเว็บส่วนหน้า เช่น HTML, CSS, และ JavaScript รวมถึงการออกแบบและสร้างเว็บไซต์ที่ตอบสนองต่อการใช้งานบนอุปกรณ์ต่างๆ ผู้เรียนจะได้เรียนรู้การสร้างอินเตอร์เฟซที่ใช้งานง่ายและมีประสิทธิภาพ ผ่านการลงมือปฏิบัติและโปรเจ็กต์ต่างๆ
รายวิชานี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจและนำแนวคิดการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) ไปใช้ในกระบวนการสร้างสรรค์และแก้ปัญหา ผู้เรียนจะได้ศึกษาแนวทางและขั้นตอนของการคิดเชิงออกแบบ ได้แก่ การทำความเข้าใจผู้ใช้ การนิยามปัญหา การระดมความคิด การสร้างต้นแบบ และการทดสอบแนวคิด ผ่านการลงมือปฏิบัติจริงในโปรเจ็กต์ต่างๆ เพื่อพัฒนาทักษะในการคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม
รายวิชานี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้เรียนพัฒนาทักษะและความเข้าใจเชิงลึกในการออกแบบประสบการณ์ผู้ใช้ (UX) ผู้เรียนจะได้ศึกษาเทคนิคและเครื่องมือขั้นสูงในการวิจัยผู้ใช้ การสร้างต้นแบบ (prototype) การทดสอบการใช้งาน (usability testing) และการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อปรับปรุงการออกแบบ ผู้เรียนจะได้ลงมือปฏิบัติจริงผ่านโปรเจ็กต์ที่เน้นการแก้ปัญหาการออกแบบที่ซับซ้อน
รายวิชานี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้เรียนมีความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการออกแบบประสบการณ์ผู้ใช้ (UX) และวิธีการนำไปใช้ในงานออกแบบ ผู้เรียนจะได้ศึกษาแนวคิดหลักของ UX การวิจัยผู้ใช้ การสร้างแผนผังไซต์ (sitemap) และโครงร่างเว็บไซต์ (wireframe) รวมถึงการทดสอบและประเมินผลการออกแบบ เพื่อให้สามารถสร้างประสบการณ์ที่น่าสนใจและมีประสิทธิภาพสำหรับผู้ใช้
รายวิชานี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้เรียนมีทักษะในการใช้สเปรดชีตเพื่อการทำความเข้าใจและวิเคราะห์ข้อมูล ผู้เรียนจะได้ศึกษาเครื่องมือต่างๆ ในสเปรดชีต เช่น การสร้างสูตรคำนวณ การจัดการข้อมูล การสร้างกราฟและแผนภูมิ รวมถึงการใช้ฟังก์ชันขั้นสูงเพื่อการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึก เพื่อให้สามารถนำข้อมูลไปใช้ในการตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ
รายวิชานี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้เรียนมีความเข้าใจและทักษะในการเขียนโปรแกรมเชิงตัวเลขด้วยภาษา Python ผู้เรียนจะได้ศึกษาและใช้เครื่องมือเช่น pandas เพื่อการวิเคราะห์ข้อมูล ผู้เรียนจะได้เรียนรู้วิธีการจัดการและวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ การสร้างข้อมูลเชิงสถิติ และการแสดงผลข้อมูลในรูปแบบต่างๆ เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจที่มีข้อมูล
รายวิชานี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้เรียนสำรวจและเข้าใจประเด็นจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีในยุคปัจจุบัน ผู้เรียนจะได้ศึกษาแนวคิดทางจริยธรรมที่สำคัญ การพิจารณาทางจริยธรรมในด้านการพัฒนาและการใช้งานเทคโนโลยี เช่น ปัญญาประดิษฐ์ ความเป็นส่วนตัว การเฝ้าระวัง และผลกระทบทางสังคม ผู้เรียนจะได้รับการสนับสนุนให้พิจารณาและอภิปรายประเด็นจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีอย่างลึกซึ้ง
รายวิชานี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้เรียนมีความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับปัญญาประดิษฐ์ (AI) การเรียนรู้ของเครื่อง (Machine Learning) และวิทยาศาสตร์ข้อมูล (Data Science) ผู้เรียนจะได้ศึกษาแนวคิดและเทคนิคพื้นฐานของ AI และการเรียนรู้ของเครื่อง เช่น การจำแนกรูปแบบ การคาดการณ์ และการจัดกลุ่มข้อมูล รวมถึงการวิเคราะห์และแปลงข้อมูลในวิทยาศาสตร์ข้อมูล เพื่อให้ผู้เรียนมีพื้นฐานที่มั่นคงในการศึกษาต่อหรือทำงานในสาขานี้
รายวิชานี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้เรียนได้มีประสบการณ์การทำงานจริงผ่านการฝึกงานภายนอก ผู้เรียนจะได้ทำงานเป็นทีมและร่วมมือกับบริษัทจริงในโครงการต่างๆ ที่ได้รับมอบหมาย ผู้เรียนจะมีโอกาสพบปะกับบริษัทและนำเสนอผลงานของตนเองให้กับบริษัทนั้นๆ เพื่อเพิ่มพูนทักษะการทำงานจริงและการสื่อสารในสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับอาชีพ
รายวิชานี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้เรียนได้มีประสบการณ์การทำงานจริงผ่านการฝึกงานภายนอก ผู้เรียนจะได้ทำงานเป็นทีมและร่วมมือกับบริษัทจริงในโครงการต่างๆ ที่ได้รับมอบหมาย ผู้เรียนจะมีโอกาสพบปะกับบริษัทและนำเสนอผลงานของตนเองให้กับบริษัทนั้นๆ เพื่อเพิ่มพูนทักษะการทำงานจริงและการสื่อสารในสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับอาชีพ
รายวิชานี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้เรียนได้มีประสบการณ์การทำงานจริงผ่านการฝึกงานภายนอก ผู้เรียนจะได้ทำงานเป็นทีมและร่วมมือกับบริษัทจริงในโครงการต่างๆ ที่ได้รับมอบหมาย ผู้เรียนจะมีโอกาสพบปะกับบริษัทและนำเสนอผลงานของตนเองให้กับบริษัทนั้นๆ เพื่อเพิ่มพูนทักษะการทำงานจริงและการสื่อสารในสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับอาชีพ
รายวิชานี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้เรียนเตรียมความพร้อมสำหรับการสัมภาษณ์งานเชิงพฤติกรรมอย่างมั่นใจ ผู้เรียนจะได้เรียนรู้แนวทางการตอบคำถามสัมภาษณ์ที่เน้นพฤติกรรม การวิเคราะห์และประเมินสถานการณ์จากประสบการณ์จริง การใช้เทคนิค STAR (สถานการณ์ งานที่ทำ การกระทำ ผลลัพธ์) และการฝึกปฏิบัติสัมภาษณ์เชิงพฤติกรรมเพื่อให้พร้อมสำหรับสถานการณ์จริง
รายวิชานี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้เรียนเตรียมตัวเข้าสู่อาชีพในภาคเทคโนโลยี ผู้เรียนจะได้สำรวจโอกาสและแนวโน้มในอุตสาหกรรมเทคโนโลยี เรียนรู้ทักษะที่จำเป็นสำหรับการทำงานในสายงานต่าง ๆ เช่น การพัฒนาซอฟต์แวร์ การจัดการข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูล รวมถึงการสร้างโปรไฟล์และเตรียมตัวสำหรับการสมัครงานในภาคเทคโนโลยี
รายวิชานี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้เรียนมีความพร้อมในการเข้าสู่ตลาดแรงงานและเริ่มต้นอาชีพอย่างมั่นใจ ผู้เรียนจะได้เรียนรู้ทักษะการเขียนเรซูเม่และจดหมายสมัครงาน การเตรียมตัวสำหรับการสัมภาษณ์งาน การพัฒนาทักษะการสื่อสารและการทำงานเป็นทีม รวมถึงการสร้างเครือข่ายและการพัฒนาทักษะที่จำเป็นในการทำงานในสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง
รายวิชานี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้เรียนมีความเข้าใจพื้นฐานและทักษะในการออกแบบ จัดการ และใช้งานระบบฐานข้อมูล ผู้เรียนจะได้ศึกษาแนวคิดพื้นฐานของระบบฐานข้อมูล การสร้างแบบจำลองข้อมูล การเขียนภาษา SQL การเพิ่ม ลบ และปรับปรุงข้อมูล รวมถึงการจัดการฐานข้อมูลและการทำดัชนีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ
รายวิชานี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้เรียนพัฒนาทักษะในการออกแบบและวิศวกรรมฐานข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ ผู้เรียนจะได้ศึกษาแนวคิดและเทคนิคในการสร้างแบบจำลองข้อมูล การออกแบบฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ การสร้างและปรับแต่งสคีมาฐานข้อมูล การทำดัชนี และการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของฐานข้อมูล พร้อมทั้งเรียนรู้การใช้เครื่องมือและเทคโนโลยีล่าสุดในวงการฐานข้อมูล
รายวิชานี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้เรียนมีความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับความน่าจะเป็นและสถิติที่สำคัญสำหรับวิทยาศาสตร์ข้อมูล ผู้เรียนจะได้ศึกษาแนวคิดพื้นฐานของความน่าจะเป็น การแจกแจงความน่าจะเป็น การวิเคราะห์ข้อมูล การทดสอบสมมติฐาน และการวิเคราะห์การถดถอย พร้อมทั้งเรียนรู้การประยุกต์ใช้เครื่องมือและเทคนิคทางสถิติในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ข้อมูล
รายวิชานี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้เรียนมีความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับโครงสร้างข้อมูลและอัลกอริธึมเบื้องต้น ผู้เรียนจะได้ศึกษาและปฏิบัติการใช้งานโครงสร้างข้อมูล เช่น อาร์เรย์ ลิงก์ลิสต์ สแตก และคิว รวมถึงการออกแบบและวิเคราะห์อัลกอริธึมสำหรับการเรียงลำดับ การค้นหา และการจัดการข้อมูล พร้อมทั้งพัฒนาทักษะการเขียนโปรแกรมเพื่อแก้ไขปัญหาจริง