ทุนการศึกษา: เปิดโอกาสการเรียนรู้ให้ทุกคนอย่างเท่าเทียม

เรามุ่งมั่นให้การศึกษาเป็นสิ่งที่เข้าถึงได้สำหรับทุกคน ด้วยโอกาสในการกู้ยืมผ่าน กองทุนเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาที่ผูกกับรายได้ในอนาคต (กรอ.) ที่พร้อมสนับสนุนค่าใช้จ่ายตลอดการเรียน หลักสูตรของเราพร้อมช่วยให้นักศึกษามีความพร้อมทางการเงิน เพื่อให้สามารถมุ่งมั่นกับการเรียนรู้และเติบโตในเส้นทางที่เลือก

กองทุน กยศ. ช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายได้ทันที ในขณะที่กองทุน กรอ. มอบความยืดหยุ่นในการชำระเงินคืนตามศักยภาพรายได้เมื่อเข้าสู่การทำงาน นักศึกษาจึงสามารถจัดการการเงินได้อย่างมั่นใจและสร้างอนาคตที่สดใส
กองทุนเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาที่ผูกกับรายได้ในอนาคต (กรอ.)
ด้วยรัฐบาลมีนโยบายในการลดข้อจำกัดของการเข้าถึงการศึกษาระดับอุดมศึกษาและอาชีวศึกษาขั้นสูง คณะรัฐมนตรีจึงมติเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2555 ให้ดำเนินโครงการเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาที่ผูกกับรายได้ในอนาคต (กรอ.) ตั้งแต่ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2555 โดยให้ทุนการศึกษาแบบต้องใช้คืนสำหรับนิสิตนักศึกษาในระดับอุดมศึกษาและอาชีวศึกษาขั้นสูง และเพิ่มความช่วยเหลือเป็นค่าครองชีพระหว่างศึกษาสำหรับผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์ เพื่อเป็นการเพิ่มโอกาสให้นิสิตนักศึกษาที่ศึกษาในระดับอุดมศึกษาและอาชีวศึกษาขั้นสูง ในหลักสูตรสาขาวิชาที่เป็นความต้องการหลักและมีความชัดเจนของการผลิตกำลังคนและให้ผู้รับทุนเริ่มใช้คืนเงินกู้ โดยจะยึดโยงกับความสามารถในการหารายได้ในอนาคต
เยี่ยมชมเว็บไซต์ของ กรอ.
คุณสมบัติผู้มีสิทธิ์กู้ยืมเงิน
1. เป็นผู้มีสัญชาติไทย
2. ไม่จำกัดรายได้ครอบครัว
3. อายุไม่เกิน 30 ปีบริบูรณ์ ในวันที่ 1 มกราคม (ณ ปีที่สมัครเรียนและสมัครกู้)
4. เป็นนักศึกษารายใหม่ที่ขอรับทุนเพื่อเข้าศึกษาในชั้นปีที่ 1
5. ไม่เคยกู้กองทุนกยศ.มาก่อน หรือต้องเป็นผู้กู้กรอ.ต่อเนื่องจากสถาบันเดิม
6. ไม่เคยเป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีในสาขาใด ๆ มาก่อน
7. ไม่เป็นผู้ที่ทำงานประจำในระหว่างการศึกษา
8. เป็นผู้ที่มีผลการเรียนดี มีคะแนนเฉลี่ยสะสม (GPA) ต้องไม่น้อยกว่า 2.00
9. มีหลักฐานแสดงการเข้าร่วมโครงการที่มีประโยชน์ต่อสังคมและสาธารณะ (จิตอาสา) ในปีการศึกษาก่อนหน้าที่จะขอกู้ยืม
10. เข้าศึกษาในสาขาวิชาที่เป็นความต้องการหลักและมีความชัดเจนของการผลิตกำลังคน ตามประกาศคณะกรรมการฯ (กรอ.) ดังนี้
คณะบริหารธุรกิจ :   
   - สาขาวิชาการบัญชี
คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ :   
   - สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์   
   - สาขาวิชาภาษาอังกฤษธุรกิจ
คณะวิศวกรรมศาสตร์ :   
   - สาขาวิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม   
   - สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า   
   - สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล   
   - สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา   
   - สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ   
   - สาขาวิชาวิศวกรรมความปลอดภัย   
   - สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม   
   - สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
วิธีการขอกู้ยืมเงินกองทุน กรอ.
1. ลงทะเบียนขอรหัสผ่านในระบบ e-Studentloan ที่ studentloan.or.th (กรณีกู้ครั้งแรกให้ลงทะเบียนขอรหัสผ่านก่อน)
2. กรณีผู้ที่มีรหัสผ่านแล้ว สามารถยื่นแบบคำขอกู้ในระบบ e-Studentloan ที่ studentloan.or.th
3. นักศึกษาแจ้งความประสงค์ขอกู้ ณ วันที่นักศึกษามาลงทะเบียนที่มหาวิทยาลัยฯ (นศ.ใหม่ติดต่อที่ศูนย์รับสมัครนักศึกษาใหม่ ชั้น 1) เพื่อขอรับเอกสารแบบคำขอกู้ยืม หรือสามารถดาวน์โหลดเอกสารทางเว็ปไซต์แผนกทุนการศึกษา Scholarship.sau.ac.th
4. นักศึกษายื่นเอกสารแบบคำขอกู้ยืม พร้อมทั้งแนบเอกสารหลักฐานที่ใช้ประกอบแบบคำขอกู้ฯ ส่งตามวันและเวลาที่มหาวิทยาลัยกำหนด
5. เข้ารับการสัมภาษณ์ เพื่อพิจารณาคัดเลือกผู้กู้ยืมเงินกองทุน ตามวันและเวลาที่มหาวิทยาลัยกำหนด
6. ติดตามประกาศผลการคัดเลือก จากประกาศของมหาวิทยาลัยฯ ทางเว็ปไซต์แผนกทุนการศึกษา Scholarship.sau.ac.th
7. มหาวิทยาลัยประกาศรายชื่อผู้ที่ได้รับอนุมัติให้กู้ยืมให้นักศึกษาทราบ และนัดหมายวันทำสัญญากู้ยืมต่อไป
เอกสาร / หลักฐานที่ต้องนำส่งประกอบการขอกู้ยืมเงินกองทุน (กรอ.)
1. แบบคำขอกู้ยืมเงินของมหาวิทยาลัยฯ (กยศ.101) จำนวน 1 ชุด โดยกรอกข้อความครบถ้วน พร้อมติดรูปถ่ายของผู้ขอกู้ยืมขนาด 1 นิ้ว จำนวน 1 รูป
2. แบบคำขอกู้ยืมเงินที่พิมพ์ออกจากระบบ e-Studentloan (www.studentloan.or.th) จำนวน 1 ชุด
3. เอกสารของผู้ยื่นกู้   
   3.1 สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน (สำเนาบัตรต้องไม่หมดอายุ)   
   3.2 สำเนาทะเบียนบ้าน   
   3.3 สำเนาใบเปลี่ยนชื่อ-สกุล (ถ้ามี)   
   3.4 สำเนาใบแสดงผลการศึกษาในปีการศึกษาที่ผ่านมา (ใบรบ.)   
   3.5 สำเนาสัญญากู้ยืมเงินปีล่าสุด (กรณีเป็นนักศึกษากู้ต่อเนื่อง)   
   3.6 ภาพถ่ายบ้านตามทะเบียนบ้านของบิดา- มารดา   
   3.7 หลักฐานแสดงถึงการเข้าร่วมกิจกรรม/โครงการจิตอาสา
4. เอกสารของบิดา มารดา หรือผู้ปกครอง/ผู้อุปการะ   
   4.1 สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน (สำเนาบัตรต้องไม่หมดอายุ)   
   4.2 สำเนาทะเบียนบ้าน   
   4.3 สำเนาใบมรณบัตร (กรณีที่บิดา หรือมารดา เสียชีวิต)   
   4.4 สำเนาหนังสือสำคัญการหย่าร้าง (กรณีที่บิดา มารดา หย่าร้างกัน)   
   4.5 สำเนาใบเปลี่ยนชื่อ-สกุล (ถ้ามี)   
   4.6 สลิปเงินเดือน หรือหนังสือรับรองเงินเดือน ของบิดา มารดา หรือผู้ปกครอง (กรณีประกอบอาชีพมีเงินเดือนประจำ)
5. หนังสือรับรองรายได้ครอบครัวของผู้ขอกู้ (กยศ.102) และเอกสารของผู้รับรองรายได้ ของบิดา มารดา หรือผู้ปกครอง/ผู้อุปการะกรณีบุคคลดังกล่าวไม่ได้ประกอบอาชีพ หรือไม่มีหนังสือรับรองเงินเดือน/สลิปเงินเดือน   
5.1 สำเนาบัตรประจำตัว ข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ (สำนาบัตรต้องไม่หมดอายุ)
การทำสัญญากู้ยืมเงิน ผู้ที่ผ่านการคัดเลือกจากสถานศึกษา ให้ปฏิบัติดังนี้
หลักสูตรนี้ออกแบบมาเพื่อเพิ่มความมั่นใจและทักษะในการสัมภาษณ์งาน คุณจะได้เรียนรู้เทคนิคการตอบคำถามที่มักพบบ่อย วิธีการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ และการสร้างความประทับใจแรกเริ่ม เราจะช่วยให้คุณสามารถเตรียมตัวในการนำเสนอจุดแข็งของตนเอง ตอบคำถามอย่างมั่นใจ และเข้าใจวิธีการคิดและมุมมองของผู้สัมภาษณ์ เพื่อเพิ่มโอกาสในการผ่านการคัดเลือกและสร้างเส้นทางอาชีพที่ต้องการ
การทำสัญญากู้ยืมเงิน ผู้ที่ผ่านการคัดเลือกจากสถานศึกษา ให้ปฏิบัติดังนี้
หลักสูตรนี้ออกแบบมาเพื่อเพิ่มความมั่นใจและทักษะในการสัมภาษณ์งาน คุณจะได้เรียนรู้เทคนิคการตอบคำถามที่มักพบบ่อย วิธีการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ และการสร้างความประทับใจแรกเริ่ม เราจะช่วยให้คุณสามารถเตรียมตัวในการนำเสนอจุดแข็งของตนเอง ตอบคำถามอย่างมั่นใจ และเข้าใจวิธีการคิดและมุมมองของผู้สัมภาษณ์ เพื่อเพิ่มโอกาสในการผ่านการคัดเลือกและสร้างเส้นทางอาชีพที่ต้องการ

คําถามพบบ่อย

กองทุน กยศ. และ กรอ. แตกต่างกันอย่างไรบ้าง
กลุ่มเป้าหมาย
กยศ.
: รายได้ครอบครัวต้องไม่เกิน 200,000 บาทต่อปี และผู้กู้ต้องมีอายุไม่เกิน 60 ปี
กรอ.: ไม่จำกัดรายได้ครอบครัว แต่ผู้กู้ต้องมีอายุไม่เกิน 30 ปี

ระดับการศึกษา
กยศ.
: ครอบคลุมตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ปวช. ปวส. จนถึงระดับปริญญาตรี ทุกสาขาวิชา
กรอ.: สำหรับ ปวส. และปริญญาตรี แต่เน้นเฉพาะสาขาวิชาที่เป็นไปตามประกาศของคณะกรรมการกองทุน (โดยเฉพาะสาขาวิชาที่ขาดแคลนหรือมีความต้องการหลักสูตรในประเทศ)

ประเภทของการกู้ยืม
กยศ.
: ครอบคลุมค่าเล่าเรียนและค่าครองชีพ
กรอ.: ครอบคลุมค่าเล่าเรียนและค่าครองชีพ (เฉพาะผู้ที่มีรายได้ครอบครัวเกินกว่า 200,000 บาทต่อปี)

การชำระหนี้ ทั้ง กยศ. และ กรอ.: ต้องเริ่มชำระหนี้หลังจากสำเร็จการศึกษาหรือเลิกการศึกษาเป็นเวลา 2 ปี โดยชำระภายในระยะเวลา 15 ปี

อัตราดอกเบี้ย ทั้ง กยศ. และ กรอ.: อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 1 บาทต่อปี
สามารถสมัครขอรับทุนได้เมื่อไหร่
สามารถสมัครขอรับทุนการศึกษาได้ปีละหนึ่งครั้งเท่านั้น ในภาคการศึกษาที่ 1 ของแต่ละปีการศึกษา โดยรอบถัดไปจะเปิดในเดือนมิถุนายน ดังนั้นการวางแผนการสมัครจึงมีความสำคัญมาก

หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการกู้ยืมเพื่อการศึกษา กรุณาติดต่อที่ปรึกษาด้านการรับสมัครของเรา
กองทุนได้กำหนดหลักเกณฑ์การโอนเงินกู้ยืมไว้อย่างไร ทำไมผู้กู้ยืมที่อยู่ระหว่างการศึกษาต้องทำกิจกรรมจิตสาธารณะ และอื่นๆ
สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมบนเว็บไซต์ของกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.)
ในกรณีที่ไม่ได้ยื่นเรื่องกู้ยืมในเทอมที่ 1 แต่ต้องการขอกู้ยืมในเทอมที่ 2 จะทำได้หรือไม่
ไม่ได้ ผู้กู้ยืมจะต้องยื่นขอกู้ยืมผ่านระบบ e-studentloan ตั้งแต่เทอม 1 เป็นต้นไป
ช่องทางติดต่อขอข้อมูลเกี่ยวกับกองทุนการศึกษา
แผนกทุนการศึกษา มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์  
โทร. 062-602-7488

ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับกองทุน : www.studentloan.or.th